ในโลกร่วมสมัยที่วิทยาศาสตร์และสังคมดำเนินมาทับซ้อนบรรจบกันอย่างแยกกันไม่ออก เราแทบปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในสังคมทุกวันนี้มนุษย์เรามีวิทยาศาสตร์อยู่ในทุกช่วงตอนของชีวิต ทุกช่วงตอนของการดำเนินไปของชีวิต จนแทบจะกล่าวได้ว่าชีวิตในสังคมเราล้วยขับเคลื่อนไปด้วยกลไกของวิทยาศาสตร์ สิ่งสำคัญที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ การที่เราจะเข้าไปทำความเข้าใจถึงวิทยาศาสตร์และค้นหาถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ รวมถึงความสัมพันธ์อันน่าสนใจระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคม ตลอดจนการทบทวน ทำความเข้าใจบทบาทขององค์ความรู้วิทยาศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ในระบบการศึกษาและงานพัฒนาสังคมที่เปรียบประดุจเป็นเบ้าหลอมของการพัฒนามนุษย์และสังคมต่อไปในอนาคต หากรากฐานของตึกคืออิฐ รากฐานของชีวิตในสังคมร่วมสมัยก็คงเป็นความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และสังคม ดังนี้แล้ว STS Cluster Thailand จึงสร้างสรรค์งานเสวนาพาทุกท่านมาพูดคุยกันกับเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ในวงการศึกษาและพัฒนาสังคม ในค่ำคืนของวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 19:00 – 21:00 น. ทางทีมงานได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยหลายท่าน ทั้ง ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อ.ภาคิน นิมมานนรวงศ์ อาจารย์สาขาสังคมศึกษาฯ โรงเรียนกำเนิดวิทย์ อ.ดร.จิดาภา คุ้มกลาง อาจารย์หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้ความอนุเคราะห์จาก อ.ดร.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล มาร่วมดำเนินรายการกับ อ.ดร.ปิยณัฐ ประถมวงษ์ ที่พากันขยายประเด็นคำถามสุดท้าทายและน่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้ ธีรพัฒน์ อังศุชวาล: โจทย์การพูดคุยวันนี้ ตั้งต้นมาจากประสบการณ์ของผู้ร่วมเสวนาทุกคนที่มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์บ้าง วิทยาศาสตร์บ้าง แต่ต้องมาทำงาน ใช้ชีวิต […]
Author: stsclusterthailand
เศรษฐกิจดิจิทัลกับทุนนิยม (ใหม่?)
ประเทศไทยในอดีตเคยมีรูปแบบของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจาก ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ (Creative Economy) ที่มีรูปแบบการขับเคลื่อนที่เน้นถึงความสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความรู้ การศึกษา และความคิดสร้างสรรค์ของคนในสังคม กับ พื้นฐานทางวัฒนธรรมและสังคม รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี ต่อมา ‘เศรษฐกิจสร้างสรรค์’ ถูกแทนที่ใหม่ด้วยรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ (Digital Economy) จากการวางนโยบายโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดย ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ ตามที่ สศช. ได้ให้คำจัดกัดความไว้ คือ “เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตมวลรวมของประเทศ” สำหรับความหมายของเศรษฐกิจดิจิทัล นักวิชาการคนแรก ๆ ที่ให้นิยามความหมายของคำนี้ คือ ดอน แทปสกอตต์ (Don Tapscott, 1947 – ) นักเขียน นักลงทุน และนักธุรกิจชาวแคนนาดา ในงานเขียนชื่อ The Digital Economy: Promise and Peril In The Age of Networked Intelligence […]
สังคมความเสี่ยงและการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่
ในชีวิตของเราแน่นอนว่าต้องเคยเผชิญหน้ากับความไม่ปลอดภัย ความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นนี้ เป็นสิ่งเล็ก ๆ ในชีวิต อย่างการพบเจอรถติดในยามเช้าจนเกิดกลัวว่าจะเดินทางไปที่ทำงานสาย หรือในระดับใหญ่ ๆ อย่างเช่น ปัญหาความปลอดด้านมลภาวะอากาศ ที่ทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน จะต้องไม่ลืมหยิบหน้ากากกรองอากาศขึ้นมาสวมก่อนผ่านประตูบ้านออกไป ความไม่ปลอดภัยและกังวลกับข่าวของการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศแปรปรวน การเกิดภาวะสงครามที่ระอุร้อน ความกลัวจากการต่อรองอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจ หรือความกลัวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานจนทำลายชีวิตปกติเดิมของเราอย่างโรคระบาดชนิดใหม่เชื้อไวรัสโคโรน่า (Coronavirus) 2019 หรือที่เรียกในเวลาต่อมาว่า COVID-19 ความรู้สึกไม่ปลอดภัยที่กล่าวนำไปนี้เป็นตัวอย่างของ “ความเสี่ยง” ที่ อุลริช เบ็ค (Ulrich Beck, 1944-2015) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันได้อธิบายไว้ว่าเป็นเสมือนด้านมืด (dark side) ที่ค่อย ๆ แสดงตัวให้มนุษย์เห็น เป็นด้านมืดของสังคมซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนผ่านจากสังคมสมัยใหม่เข้าสู่สังคมความเสี่ยงที่ยากต่อการรับมือ เบ็คเห็นว่าความเสี่ยงเหล่านี้มันกำลังฝังรากลึกเข้าไปในจิตสำนึกของผู้คนตลอดเวลา จนทำให้คนในสังคมมองโลกในแง่ร้าย STS Cluster Thailand ถือโอกาสพาทุกท่านมาพูดคุยแลกเปลี่ยนในประเด็นสังคมความเสี่ยง รวมความไปถึงการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคมสมัยใหม่ เพื่อโยงใยความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์ในการจัดการปัญหาของสังคมความเสี่ยง และประการสำคัญที่สุด คือ การอยู่ในสังคมความเสี่ยงโดยที่เราทุกคนในสังคมสามารถรับมือกับความเสี่ยงที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่ขาดสายได้ จากความเสี่ยงนำมาสู่งานเสวนาวิชาการที่ได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญทั้ง ดร.ปัญจภา ปิติไกรศร (เจ้าของวิทยานิพนธ์เรื่อง Disinformation, Science Communication and […]
อย่าหาทำ: เอไอกับสุนทรียะ
เมื่อ AI และโรบอตเข้ามามีบทบาทจนเกือบที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งในแง่ของการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม การแพทย์ ด้านนิติศาสตร์ และอื่น ๆ ซึ่งมุมมอง AI ที่มีต่อชีวิตประวันเหล่านี้ ส่วนมากแล้วมนุษย์มักจะมองว่า AI ที่เข้ามามีบทบาทนี้ สักวันหนึ่งอาจเปลี่ยนสถานะจากผู้ถูกใช้งานโดยมนุษย์กลายเป็นผู้ใช้งานมนุษย์และตั้งตนสถาปนาเป็นนายเหนือมนุษย์ดังที่เรามักพบเห็นบ่อย ๆ จากภาพยนตร์หรือนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ที่ฉายภาพของความสิ้นหวังของโลกอนาคตในหลายหลายมิติ การเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของ AI ในสังคมปัจจุบันพบเห็นได้ในหลายกรณีด้วยกัน อาทิ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ AI ในห้องผ่าตัดในวงการแพทย์ อัลฟ่าโกะ AI ที่เอาชนะแชมป์โลกในเกมหมากล้อม หรือ AI โอเพ่นเอไอไฟว์ที่เอาชนะแชมป์โลกทีมนักแข่งเกมโดตา 2 ของการแข่งขันเกมอีสปอร์ตเมื่อ ปี 2018 ที่ผ่านมา จากตัวอย่างบทบาทของ AI ที่ยกมานี้ยังมีมิติหนึ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่ถูกพูดถึงอยู่ไม่มาก นั่นคือ มิติด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์ ที่ในชีวิตมนุษย์นับว่าเป็นสิ่งที่ตามมาหลังเรื่องปากท้อง หรือเรียกได้ว่า ศิลปะ เปรียบเป็นชั้นบนสุดของหอคอยแห่งบันไดชีวิต เพราะมีคนจำนวนไม่มากที่จะมีเวลาเสพสมงานศิลปะและสุนทรียะ และสุนทรียะคงเกิดขึ้นไม่ได้หากท้องยังไม่อิ่ม อย่างไรก็ตามหากมนุษย์เราไม่นึกถึงและเลือกละทิ้งมิติด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์ในชีวิตไป ก็คงเป็นได้เพียงมนุษย์ที่ปราศจากชีวิตชีวา เป็นมนุษย์ที่เผลอทำความสร้างสรรค์หล่นหายไป ในมิติด้านศิลปะและสุนทรียศาสตร์กับ AI ในช่วง 2-3 […]
เสวนาออนไลน์ว่าด้วยเลคเชอร์สุดท้ายของมาร์ค ฟิชเชอร์
[ผู้จัดงาน: Inter-Asia School, Bangkok X ผู้ร่วมจัด: STS Cluster Thailand] ดูคลิปเสวนาได้ที่ >>> https://fb.watch/3K3oRIK05g/ Let’s be done with it and imagine (beyond) Capitalist Realism: exploring “Postcapitalist Desire” เสวนาว่าด้วยเลคเชอร์สุดท้ายของมาร์ค ฟิชเชอร์ (Postcapitalist Desire: The Final Lecture, 2020, Repeater Books) วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2564 เวลา 19.00 – 21.00 น. ผู้ร่วมเสวนา: วิริยะ สว่างโชติ – นักวิจัยอิสระ กุลธีร์ บรรจุแก้ว – คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา นรชิต […]
นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการปกครอง/การจัดการภาครัฐสมัยใหม่
ประเด็นของการเสวนาเกี่ยวกับมิติของการเมืองและสังคมดำเนินต่อเนื่องจากงานเสวนาครั้งที่แล้วคือเรื่อง “เทคโนเครซี่กับการกำหนดนโยบายสาธารณะ: สภาพการณ์และการก้าวพ้น” สำหรับงานเสวนาในครั้งนี้ STS Cluster Thailand และ เครือข่ายนโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์ จัดขึ้นเพื่อเป็นการมอบของขวัญทางวิชาการส่งท้ายปีให้กับทุกคนท่าน การเสวนาครั้งนี้เป็นประเด็นต่อเนื่องที่จะพาทุกท่านมาพูดคุยถึงความสำคัญและความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีและการปกครองของภาครัฐและพูดคุยถึงแนวทางในการส่งเสริมนวัตกรรมในการปกครองและการจัดการของภาครัฐ วงเสวนาของเราได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.ธีรพัฒน์ อังศุชวาล จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มารับหน้าที่ดำเนินรายการเหมือนดังเช่นงานเสวนาในครั้งก่อน สำหรับการเสวนาครั้งนี้ STS Cluster Thailand และ เครือข่ายนโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์ ได้วิทยากรมากความสามารถอย่าง ดร.พบสุข ช่ำชอง จากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อ.วศิน ปั้นทอง จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาร่วมการเสวนาและพูดคุยกัน เมื่อ “You are what you eat.” ถูกแทนที่ด้วย “You are what your data portray.” ในค่ำคืนวันที่พุธ ที่ 23 ธันวาคม 2563 วงเสวนาถูกถ่ายทอดผ่านเฟซบุคไลฟ์ทางเพจ STS Cluster […]
เทคโนเครซี่กับการกำหนดนโยบายสาธารณะ: สภาพการณ์และการก้าวพ้น
มิติการเมือง มิติสังคม และมิติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบกันขึ้นเป็นองคาพยพของสังคมมนุษย์ มิติทั้งสามด้านนี้ต่างปฏิสัมพันธ์กันจนเป็นกรอบคิดสำคัญอันเป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจโลกของมนุษย์ ในการปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นกระบวนการนี้มีรากฐานการคิดที่วางอยู่บนฐานคติของธรรมชาติความรู้แบบวิทยาศาสตร์ซึ่งการคิดนำมาซึ่งวิธีการ และวิธีการนำไปสู่รูปแบบของการเมืองและนโยบายสาธารณะภายใต้ระบอบที่ชี้นำโดยผู้เชี่ยวชาญและความรู้แบบเทคนิค (technocracy) อันมีความเชี่ยวชาญเป็นกลไกอ้างอิงการตัดสินใจสำคัญ จากฐานคิดทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคนิควิธีการกลายเป็นรูปแบบหลักในการวางแผนและพัฒนานโยบายรวมถึงแก้ไขปัญหาสังคม การปกครองและการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “เทคโนแครต (หรือผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ)” (technocrats) แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะได้มาซึ่งผลิตผลในรูปแบบหลักในการวางแผนและพัฒนานโยบายรวมถึงแก้ไขปัญหาสังคม ขณะเดียวกันทำให้บทบาทและคุณภาพของประชาธปิไตยลดลง เพราะทักษะทางเทคนิคและสมรรถนะทางความเชี่ยวชาญกลายมาเป็นคุณสมบัติสำคัญของ ความเป็นผู้นำทางการเมืองโดยละเลยมิติอื่น ๆ มันจึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องเข้าไปทำความเข้าใจถึงปฏิสัมพันธ์ของการวิเคราะห์เชิงเทคนิควิธีการบนความสมเหตุสมผลแบบวิทยาศาสตร์กับการเมือง และการกำหนดนโยบายสาธารณะของไทย เข้าไปชำแหละว่าในการปฏิสัมพันธ์ของขั้ววิธีการและแนวคิดทั้งสองในความสัมพันธ์นั้นมันได้ส่งผลหรือก่อให้เกิดอิทิพลมากน้อยเพียงไรในแง่การเมืองและนโยบายสาธารณะ และที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการคิดที่ก้าวข้ามพ้นวิธีคิดที่เกิดขึ้นในสังคมอยู่ตอนนี้ ในค่ำคืนวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา STS Cluster Thailand และ เครือข่ายนโยบายศึกษาเชิงวิพากษ์ ได้ร่วมกันยกขบวนนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญและมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ ทั้ง ผศ.ดร. ปิยะพงษ์ บุษบงก์ จากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ดร. พัชราภา ตันตราจิน จากคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมกันนี้ยังมี ดร. ธีรพัฒน์ อังศุชวาล จากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นผู้ดำเนินรายการและร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประเด็นกับวิทยากรทั้งสองท่านอีกด้วย […]
จริยศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์: มุมมองเชิงพุทธ
จากงานเสวนา “Sci-Fi: พลังการสื่อสารแง่คิดวิทยาศาสตร์กับจินตนาการทางสังคม” ที่ถ่ายทอดแง่มุมของภาพยนตร์และวรรณกรรม Sci-Fi ในฐานะตัวกลางที่มีพลังในการสื่อสารข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์และสื่อสารจินตนาการถึงข้อท้าทายและคุณค่าของมนุษย์และสังคม ในครั้งนี้ STS Cluster พาทุกคนมาสนุกคิดกันต่อในประเด็นที่ใกล้ตัวและเป็นจริงกับทุกคนมากขึ้น เพราะในงานเสวนาครั้งนี้โจทย์สำคัญที่มุ่งเน้น คือ การตั้งคำถามกับปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ เราปฏิเสธไม่ได้แม้แต่น้อยว่า ในโลกศิวิไลซ์ร่วมสมัยปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามามีผลกระทบต่อมนุษย์และสังคม ผลที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลทั้งในแง่ที่ก่อให้เกิดประโยชน์และแง่ที่สร้างให้มนุษย์เกิดความระมัดระวังและความกลัว จากผลกระทบทั้งด้านบวกและลบของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ที่เกิดขึ้น คำถามสำคัญที่เรามองข้ามไปไม่ได้เลย คือ ประเด็นถกเถียงทางจริยศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์รอบตัวที่ล้วนสัมพันธ์กันตัวเรา หนึ่งในข้อถกเถียงที่อยู่ในกระแสโลกที่เป็นประเด็นร่วมของศาสตร์ปรัชญาและวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี คือ การออกแบบและผลิตสร้างจริยศาสตร์ของปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ที่มีคุณลักษณะบางอย่างทางจริยธรรม เช่น มีความสามารถในการให้เหตุผลทางจริยธรรม (moral reasoning capacities) ซึ่งนักวิชาการในต่างประเทศมักจะใช้กรอบคิดจากจริยศาสตร์ (ปรัชญาตะวันตก) มาเป็นฐานคิด เช่น การออกแบบสร้างปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์โดยพยายามสอนให้ระบบมีคุณลักษณะทางจริยศาสตร์แบบต่าง ๆ เช่น จริยศาสตร์เชิงกรณียธรรม (deontological ethics) จริยศาสตร์แบบอรรถประโยชน์นิยม (utilitarianism) หรือ จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม (virtue ethics) และแทบจะไม่เห็นเลยว่ามีการนำกรอบคิดจากฐานคิดตะวันออกมาตอบคำถามในประเด็นนี้ ประกอบกับในช่วงกลางปี 2563 นี้ หนังสือน่าอ่านเล่มใหม่อย่าง The Ethics of AI and Robotics: […]
Sci-Fi: พลังการสื่อสาร แง่คิดวิทยาศาสตร์กับจินตนาการทางสังคม
ในโลกโลกาภิวัตน์ที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนารวดเร็วอย่างก้าวกระโดด เมื่อรู้ตัวอีกทีวิทยาศาสตร์ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทั้งสมาร์ทโฟน ปัญญาประดิษฐ์ ความจริงเสมือน (Virtual Reality) เครือข่าย 5G รถยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Driving) วิศวกรรมชีวการแพทย์ การจ่ายเงินแบบไม่ใช้เงินสด ไล่ไปจนถึงการให้บริการสตรีมมิ่งบนจอมือถือ ตัวอย่างของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากพลังของการจินตนาการของมนุษย์ที่ผ่านกระบวนการคิดและกรอบโลกทัศน์แบบวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น จากพลังจินตนาการของมนุษย์สู่เทคโนโลยีที่กลับมารับใช้ผู้จินตนาการ ความใกล้ชิดระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีที่แนบแน่นกันเช่นนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ ในอนาคตอันใกล้นี้ คำถามที่เกิดขึ้นคือ การอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในสังคม จะมีความหมายและคุณค่าอย่างไร หรือจะดำเนินไปในทิศทางไหน อำนาจอันมากมายมหาศาลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะขับเคลื่อนสังคมไปอย่างไร หรือคำถามที่ง่ายดายที่สุด มนุษย์เรามีความเข้าใจต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร เพื่อร่วมกันหาคำตอบและสร้างแนวทางในการสื่อสารปัญหาที่เกิดขึ้นต่อประชาชนและสังคมไทย STS Cluster Thailand จึงได้จัดงานเสวนา “Sci-Fi: พลังการสื่อสารแง่คิดวิทยาศาสตร์กับจินตนาการทางสังคม” ขึ้น เมื่อวันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 19:00 – 21:00 น. ผ่านทาง Zoom Webinar ดำเนินรายการโดย ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย นักวิจัยด้าน STS […]
Saturday Playground: ชวนศิลป์-วิทย์ คิดข้ามสาย
วิทย์และศิลป์ เป็นคำจำกัดความของสายการเรียนในระบบการศึกษาที่เราคุ้นชินกันดี ในความคุ้นชินที่แทรกซึมในชีวิตและความเข้าใจที่มีอยู่ เรามักจะเข้าใจว่า วิทย์และศิลป์เป็นสายการการเรียน สายอาชีพ สายการทำงาน ไล่ไปจนถึงสายธารของความรู้ที่แตกต่างและเป็นคู่ตรงข้ามของกันและกัน ภาพจำของความรู้ฝ่ายวิทย์และฝ่ายศิลป์ไม่สามารถสอดประสานเดินไปด้วยกันได้แม้แต่น้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว การแบ่งแยกวิทย์และศิลป์ในระบบการศึกษา พึ่งเกิดขึ้นในยุคใหม่ของยุโรปเมื่อ 150-200 ปีที่แล้ว จุดประสงค์ของการแบ่งแยกในอดีตที่เกิดขึ้น เนื่องมาจากความต้องการเห็นมนุษย์มีพัฒนาการไปเป็นมนุษย์ที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งที่แตกต่างกัน ระบบการศึกษาจึงถูกแบ่งแยกออกเป็นวิทย์และศิลป์ นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน โลกในศตวรรษที่ 21 ที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนโลกอย่างเป็นนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโลกอย่างเช่นปัญญาประดิษฐ์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่นการดัดแปลงพันธุกรรม ตัวอย่างเพียงไม่กี่ตัวอย่างที่กล่าวให้เห็นนี้ มากพอที่จะยืนยันได้ว่าโลก สังคม เศรษฐกิจ และชีวิตของมนุษย์ต่างก็ได้รับผลกระทบจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในแง่ที่ส่งเสริมและทำลาย หากกล่าวอย่างตรงไปตรงมา ในศตวรรษที่ 21 ชีวิตมนุษย์ได้ผูกติดกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในด้านสังคมและวัฒนธรรมไปแล้วโดยปริยาย ประกอบกับความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพิ่มพูนความซับซ้อนอย่างทวีคูณในการทำความเข้าใจ รวมถึงความซับซ้อนทางสังคมที่ประสานอยู่ในเครือข่ายของโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คงเป็นไปไม่ได้ หากจะอาศัยเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งเพื่อใช้เป็นฐานคิดในการอธิบายปรากฏการณ์และแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทันและเพียงพอ จริงอยู่ที่ว่าความรู้ที่ขับเคลื่อนโลกอย่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีนัยสำคัญ แต่หากไร้ซึ่งการทำความเข้าใจมนุษย์และสังคมอย่างลึกซึ้งแล้ว ความรู้มหาศาลที่มีอยู่ในมือมนุษย์ก็ไร้ซึ่งความหมายเช่นกัน คำถามที่เกิดขึ้น คือ เราจะทำอย่างไรให้เกิดพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ของคนข้ามศาสตร์ นับเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากมีนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแค่มีความรู้ความเชิงเทคนิค (technical) และทักษะแบบแข็ง (hard skill) แต่มีความเข้าใจมนุษย์และสังคมในระดับที่ลึกซึ้ง และมีนักสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่เปิดกว้างและพร้อมเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับชักชวนกันขบคิดถึงความเป็นไปได้ของปัญหา สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ […]